วันอาทิตย์

มารยาทการพูดโทรศัพท์

ปัจจัยที่6ของสังคมยุคโลกาภิวัฒน์ในยุคนี้ ถ้าพูดกันแล้วคงไม่แคล้วโทรศัพท์นะคะ ซึ่งส่วนใหญ่สมัยนี้เราก็จะใช้มือถือกันเป็นส่วนใหญ่ ส่วนจะไฮเทคโนโลยี่ขนาดไหน ก็ต้องวิ่งตามเทรนด์ให้ทันกันละค่ะ .......... วันนี้สวยใสๆสไตล์แม่หมอก็เลยนำเสนอการแต่งเติมเสริมบุคคลิก ในเรื่องของมารยาทการใช้โทรศัพท์ค่ะ ...... แม่หมอเก็บเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาเล่าให้เพื่อนๆฟังว่าการพูดโทรศัพท์ที่เค้าว่ากันว่าเป็นมารยาทที่ดีมีอะไรกันบ้าง ไปดูกันเลยมั๊ยคะ .......

ใช้คำ "สวัสดี" เมื่อเริ่มและจบการสนทนา (คำว่าสวัสดี ดูเป็นไทยๆดีกว่า ฮัลโหลนะคะ ) ........ ใช้คำว่า "ขอโทษ" เมื่อทำให้อีกฝ่ายรอ หรือเราต่อผิด ........ หรือ"ขอประทานโทษ" คนมารับผิดคนหรือเสียงไม่ชัด หรืออยากให้เขาบอกชื่อ หรือเมื่อต้องการยุติการสนทนาค่ะ............ ใช้คำว่า "กรุณา" เมื่อต้องการให้คนอื่นช่วยเหลือเรา หรือให้พูดดังขึ้น บอกข้อมูลมากขึ้น  .............และใช้คำว่า "ขอบคุณ" ทุกครั้งที่เขาช่วยเหลือเรา หรือติดต่อเรามาค่ะ


ยิ้มก่อนพูด (Put a smile in your voice) การยิ้มทางหน้าจะทำให้เสียงที่ออกมาดูนุ่มนวลนะคะ ........ การควบคุมอารมณ์และบรรยากาศในการสนทนาให้เป็นบวกอยู่เสมอจะทำให้คู่สนทนารู้สึกดีนะคะ ....... หรือการแสดงอาการยินดีเต็มใจ สดใสร่าเริง สุภาพนอบน้อม รู้จักกาละเทศะ และพูดด้วยถ้อยคำไพเราะมีหางเสียง ก็เป็นสิ่งที่ดีในการพูดโทรศัพท์ค่ะ


รับทันทีที่เสียงกริ่งโทรศัพท์ดังขึ้น ไม่ควรทิ้งให้กริ่งเรียกเกิน 3 ครั้ง.........  อย่าให้คนอื่นรอนานโดยไม่จำเป็นนะคะ ..... และถ้าไม่จำเป็นไม่ควรพูดโทรศัพท์ พร้อมกันทีละ2 เครื่อง หรือคุยกับคนอื่นไปด้วยในขณะใช้โทรศัพท์ค่ะ ...........และขณะกำลังสนทนาอยู่กับใคร ไม่ควรต่อโทรศัพท์ถึงคนอื่นในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อการสนทนาค่ะ


อย่าทิ้งคนที่นั่งอยู่ตรงหน้าไปใช้โทรศัพท์ .......ในกรณีที่กำลังสนทนาอยู่กับคนอื่น เมื่อโทรศัพท์ดังขึ้นถ้าจะรับควรกล่าวขอโทษออกตัวกับคนที่นั่งตรงหน้าก่อนรับโทรศัพท์นะคะ


การพูดโทรศัพท์ที่ดีไม่ควรผูกขาดการพูดเสียคนเดียวและก็อย่าฟังเพียงอย่างเดียว ......... หากการพูดคนเดียวเราจะไม่ทราบปฏิกริยาของคู่สนทนา ควรเว้นจังหวะให้คู่สนทนาโต้ตอบ ........ ในขณะตรงกันข้าม การฟังอย่างเดียว หรือเงียบหรือผงกหัว ไม่ควรทำนะคะ แต่ควรส่งเสียงโต้ตอบไปเป็นครั้งคราว....... การให้ความสำคัญแก่คนและเรื่องราวที่ติดต่อมาก็เป็นสิ่งสำคัญค่ะ ถ้าจำชื่อได้ให้รีบเรียกชื่อเขาทันที่ ก็จะเป็นเสน่ห์ในการพูดโทรศัพท์นะคะ  .......... และอย่าจบการสนทนาโดยใจความยังไม่สมบูรณ์ชัดเจนค่ะ

 อย่าพูดเมื่อมีอะไรอยู่ในปาก........ ไม่ว่าขนม หมากฝรั่ง บุหรี่ หรือไม้จิ้มฟัน รวมทั้ง ทำเสียงขบเคี้ยว จิ๊บจั๊บให้เป็นที่รบกวนคู่สนทนานะคะ...........  รวมถึงอย่าหายใจ หรือพ่นลมใส่กระบอกโทรศัพท์ด้วยค่ะ


อย่าดัดเสียงพูดให้ทุ้มแหลม ค่อยดัง ช้าเร็ว สูงต่ำ ฯลฯ ผิดไปจากธรรมชาติ .......  อย่าเผลอแสดงอาการหงุดหงิดรำคาญ ฉุนเฉียว เบื่อหน่าย เมื่อปลายสายพูดไม่ถูกใจ .......  อย่าใช้โทรศัพท์เป็นที่ระบายอารมณ์ หรือกล่าวโทษ นินทาให้ร้ายคนอื่นค่ะ


รู้กาละเทศะในการใช้โทรศัพท์ ........... ต่อไปยังคนอื่นในช่วงจังหวะที่เหมาะสม ไม่ควรโทรไปหาผู้อื่นในยามวิกาล หากไม่มีธุระด่วนที่จำเป็นจริงๆค่ะ


ในกรณีที่ต้องให้คนอื่นมาร่วมสนทนาด้วย ......... จะต้องบอกว่าคนที่จะมาพูดชื่ออะไร มีความสำคัญต่อการพูดอย่างไร การส่งสายต่อโดยที่ปลายทางไม่รู้จักดูจะเป็นการผิดมารยาทไปหน่อยนะคะ


จบการพูดลงด้วยมิตรภาพและความสบายใจ....... ใช้คำพูดปิดบทสนทนาด้วยคำว่า ขอบคุณ และ สวัสดี..... หากเป็นไปได้ ควรจะให้ผู้ที่โทรมาเป็นผู้ที่ปิดบทสนทนาก่อนค่ะ


ก็เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับมารยาทการพูดโทรศัพท์นะคะ ....... การพูดโทรศัพท์เป็นการคุยกันแบบไม่เห็นตัว (ต้องรอ3จีก่อนค่ะ) เพราะฉะนั้นน้ำเสียงและคำพูดจึงเป็นสิ่งสำคัญค่ะ .... หากเรามีมารยาทในการพูดโทรศัพท์ก็จะช่วยเสริมบุคลิกเราไปในตัว ..... ยังงัยเพื่อนๆก็ลองสังเกตุดูนะคะ ว่าเราพูดโทรศัพท์ถูกตามกฏกติกามารยาทหรือเปล่า ..... หากปรับได้ก็จะเป็นการเพิ่มเสน่ห์ให้กับตัวเองแบบไม่รู้ตัวเลยละค่ะ ....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพื่อน ๆ แม่หมอสาว